ตำนานช่างตีดาบSengo Muramasa (千子村正)
มุรามาสะ เซ็นโง ช่างตีดาบในสมัยมุโระมะชิ (ช่วงศตวรรษที่ 14-16 ) ตามตำนานเล่าว่าช่างตีดาบผู้นี้เป็นหนึ่งในลูกศิษของสำนักตีดาบมาซามุเนะ ก่อนที่จะแยกตัวออกมา
ในตัวของมุรามาสะเองนั้นเต็มไปด้วยความโกรธแค้นและความบ้าคลั่ง และเขาเองก็ได้ถ่ายทอดความเป็นตัวตนของเขาเองลงไปในดาบที่สร้างขึ้น นั่นจึงทำให้ผู้ที่ครอบครองดาบของมุรามาสะนั้นกลายเป็นนักรบที่บ้าคลั่งและโหดร้าย เหมือนกับตัวของมุรามาสะเอง
แต่ดาบของมุรามาสะนั้นแตกต่างจากดาบของอาจารย์เขาโดยสิ้นเชิง ครั้งหนึ่งมุรามาสะได้ท้าประลองดาบที่เขาสร้างกับดาบของสำนักมาซามุเนะ เพื่อหาสุดยอดดาบที่ดีที่สุดในสมัยนั้น
โดยในการทดสอบครั้งนี้ทั้งสองสำนักได้นำดาบที่พวกเขาสร้างขึ้นไปปักไว้ในลำธาร และหันคมดาบขึ้นต้านกระแสน้ำ ผลจากการแข่งขันพบว่าดาบของสำนักมุรามาสะนั้นสามารถตัดได้ทุกอย่างที่ไหลผ่านคมมีดของมัน ไม่ว่าจะเป็นปลา ใบไม้ หรือแม่กระทั่งอากาศเองก็ตาม
แต่ดาบจากสำนักมาซามุเนะนั้นตรงกันข้าม แต่อย่างไรก็ตามกลับเป็นดาบจากสำนักมาซามุเนะที่ชนะการประลองครั้งนั้นไป เพราะเนื่องจากคมดาบของมุรามาสะนั้นมีความกระหายเลือดและสามารถทำลายได้ทุกอย่าง แต่ดาบของมาซามุเนะนั้นกลับเป็นดาบแห่งความเมตตาและไม่ทำลายล้างโดยไม่จำเป็น
มีดสั้นจากศตวรรษที่ 14 ที่สลักชื่อของมุรามาสะไว้
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับตำนานอาถรรพ์ของดาบจากช่างตีดาบผู้นี้อีกว่า มีการใช้ดาบของมุรามาสะในการฆ่าสมาชิกของตระกูลโทคุงาวะ หนึ่งในตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดในญี่ปุ่นสมัยนั้น และหลังจากนั้นการครอบครองดาบของมุรามาสะนั้นจึงถือเป็นเรื่องที่ผิดและถ้าหากใครที่ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษอย่างหนัก
และหนึ่งในการลงโทษผู้ครอบครองดาบของมุรามาสะที่โด่งดังมากที่สุดในปี 1634 นั่นก็คือกรณีของ Takanak Ume ผู้พิพากษาจากเมืองนะงะซะกิที่ครอบครองดายของมุรามาสะมากถึง 24 เล่ม เขาถูกสั่งให้ทำการ “เซ็ปปุกุ” หรือฆ่าตัวตายโดยคว้านท้อง
(หรือจะเรียกอีกอย่างว่า “ฮาราคีรี” ก็ได้)
เนื่องจากมีการกวาดล้างดาบของมุรามาสะอย่างหนัก หลายๆ คนที่ครอบครองดาบอยู่จึงได้พยามที่จะซ่อนดาบไว้และมีการลบสัญลักษณ์ชื่อของมุรามาสะที่อยู่บนดาบเพื่อหลีกเลี่ยงการจับกุมของเจ้าหน้าที่
หน้าตาที่แท้จริงของดาบมุรามาสะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น